ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
ถังขยะพลาสติก (Plastic Bin)
เก้าอี้พลาสติก (Plastic Chair)
ชุดตรวจสอบสารเสพย์ติด (Meth Card)
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine)
ผลิตภัณฑ์กำจัดยุงและแมลง (Deltamathrin)
ยางมะตอย (Asphalt)
เครื่องพ่นหมอกควัน (Fogging Machine)
อุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย (Fire Protection)
อุปกรณ์จราจร (Traffic Equipment)
ธงสัญลักษณ์ (Flag)
เสื้อสะท้อนแสง (Safety Vests)
โต๊ะพับ (Table)
ถังขยะขนาดเล็กและถุงขยะ (Small Bin & Bag)
อุปกรณ์โรงแรม (Hotel Equipment)
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ถังขยะพลาสติก
ร้านสีน้ำพลาสติก


ประวัติความเป็นมาของยาง มะตอย
ประวิติความเป็นมาของ ยางมะตอย            
   
         
   เนเธอร์แลนด์ เป็นชาติแรกในโลกที่ทดลองนำเอายางธรรมชาติ ในรูปยางผสมลงในยางมะตอยราดถนน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และ อินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2492 ผลการทดลองที่ได้ปรากฏว่าผิวถนน มีอายุการใช้งานนานขึ้น ผิวถนนปราศจากฝุ่นและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาถนนจึงได้มีการทดลองนำไปใช้ในพื้นที่อื่นด้วย โดยทดลองนำไปใช้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐเวอร์จิเนียโอไฮโอ มิเนโซต้า และเท็กซัส ทำให้พบข้อดีเพิ่มขึ้นจากการใช้งาน ตรงที่ผิวถนนไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของอากาศ ทั้งทนทาน ต่อการสึกกร่อน จากฝนอีกด้วย

ส่วนในทวีปเอเชีย มาเลเซีย เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้มีการทดลองใช้ยางผสมแอสฟัลต์ทำถนน หลังจากที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการเริ่มทดลองใช้ไปได้แล้ว 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2494 มาเลเซีย จึงทดลองใช้น้ำยางธรรมชาติผสมกับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 5 ราดถนนสายโกตาบารู-กัวลากลาย เป็นระยะทาง 100 หลา แต่ไม่ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจัง ต่อมาในปีพ.ศ. 2521-2531 สถาบันวิจัยยางของมาเลเซียได้รื้อฟื้นโครงการขึ้นมาใหม่ โดยใช้ยางที่ใช้แล้วจากถุงมือยางธรรมชาติผสมกับยางมะตอย ราดถนนจำนวน 3 สาย ได้แก่
          1.) ถนนสุไหงบูโล๊ะ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
          2.) ถนนสู่สนามบินกรุงกัวลาลัมเปอร์ระยะทาง 50 กิโลเมตร
          3.) ถนนในเมืองบุตราจายา เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร

          ผลการราดยางถนน ด้วยยางมะตอย ผสมยางที่ใช้แล้ว จากถุงมือยางในครั้งนี้ พบว่าถนนมีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิมประเทศอินเดีย สถาบันวิจัยยางอินเดีย ได้ร่วมมือกับหน่วยงานสร้างถนนของรัฐเคราลา และได้ทดลองใช้ยางมะตอยผสมกับน้ำยางสด อัตราส่วน ร้อยละ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2517 ราดถนนระหว่างเมืองทรีวานดรัมและโคนายัม เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วทำการเปรียบเทียบกับการใช้ยางมะตอยธรรมดา ผลปรากฏว่าถนนที่ราดด้วยยางมะตอยล้วน ต้องซ่อมเป็นระยะทุก 5 ปี คือปี พ.ศ. 2522 และพ.ศ.2527 ส่วนถนนที่ราดด้วยน้ำยางสดตั้งแต่เริ่มสร้าง จนถึงปี พ.ศ.2532 เป็นเวลา14 ปี ยังไม่เคยทำการซ่อมแซมถนนเลย

ประวัติการใช้ยางธรรมชาติผสมแอสฟัลต์ในประเทศไทย

ต่อมาหลังจากนั้น ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จึงเริ่มการทดลองเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ด้วยการใช้ยางมะตอย 700 ลิตร ต้มให้ร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 160 องศาเซลเซียส ผสมด้วยน้ำยางธรรมชาติ ชนิดเข้มข้นร้อยละ 60 ในอัตราเนื้อยางแห้งร้อยละ 2.5 และผสมน้ำมันก๊าดลงไปร้อยละ 3 เพื่อช่วยลดความหนืด นำไปราดถนนภายในหน่วยงานของตนเอง ประมาณ 200 ตารางเมตรเปรียบเทียบกับถนนที่ราดด้วย ยางมะตอยธรรมดา
ในปีเดียวกันนั้นเองส่วนอุตสาหกรรมยาง และสถาบันวิจัยยางร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และกรมทางหลวงได้ทดลองผสมตัวอย่างแอสฟัสต์ซีเมนต์ 60/70กับยางพาราชนิดต่างๆพบว่า การผสมยางพารากับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 2-6 สามารถปรับปรุง คุณภาพยางมะตอยได้ และคุณสมบัติของยางมะตอยที่ผสมสามารถผ่านมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของ มอก.851-2532 โดยมีค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงกว่ายางมะตอยปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการเยิ้มตัวหรือจุดอ่อนตัวของถนนสูงขึ้น ชี้ให้เห็นว่าถนนน่าจะมีความคงทนหรือมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
ในปีถัดมา ในวันที่ 20 สิงหาคม 2544 องค์การสวนยาง ทำโครงการสาธิต การสร้างถนน
ด้วยยางมะตอยผสมยางพารา ความยาว 520 เมตร กว้าง 4 เมตร ภายในบริเวณสำนักงานฯ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการขุดลอกพื้นถนนเดิมออก แล้วลงหินคลุกหนา 15 เซนติเมตร กว้าง 4.20 เมตร ราดด้วยยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางพาราในอัตราส่วนร้อยละ5.5 แบบวิธีฉาบผิวถนน 2 ชั้น (Double Surface)
 
สำหรับประเทศไทย การทดลองครั้งแรกเกิดจากความร่วมมือระหว่างแขวงการทางสงขลาสถานีการยางคอหงส์
เมื่อเดือนเมษายน 2500 นายชิต ทัศนกุล และคณะ ทดลองใช้ยางมะตอยผสมยางพารา ร้อยละ 5 ราดถนนสายหาดใหญ่- สงขลา ระหว่างกิโลเมตรที่ 16+000-16+100 ระยะทาง 100เมตร และราดถนนด้วยยางมะตอยธรรมดาไว้เปรียบเทียบ 100 เมตร ผลในช่วงระยะเวลา 10 ปี ถนนที่ราดด้วยยางพาราผสมอยู่ในสภาพดี ไม่เคยมีการซ่อมแซม ขณะถนนที่สร้างไว้เปรียบเทียบผ่านการซ่อมแซม 1 ครั้ง

ที่มา   นายกฤษฎา โภคากร
         
นายบารมี สิริโสภณวัฒนา

 




สาระน่ารู้

รู้หรือไม่....ว่าทำไมถังขยะถึงมีหลายสี ??
ถุงขยะพลาสติก
น้ำยาประสาน, CRS2 หรือPrime Coate
การผลิตยางมะตอยผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์
ประวัติการใช้ยางธรรมชาติ ผสมแอสฟัลด์ในประเทศไทย
ประเภทของ ยางมะตอย
ยางมะตอยคืออะไร
การใช้ยางพาราผสมแอสฟัลต์(ยางมะตอย)กับงานลาดยางผิวถนน article



Seenam-Plastic Shop. Copyright © 2012 All Rights Reserved.

ร้านสีน้ำ-พลาสติก

ที่อยู่: เลขที่79/97 ถนน เทศบาล6 ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160
เบอร์โทร: 081-8133526 หรือ 084-1602722
อีเมล์/MSN: lek_swtkm@hotmail.com หรือ boorin_mba@hotmail.com
เว็บไซต์: www.seenam-plastic.com