ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
ถังขยะพลาสติก (Plastic Bin)
เก้าอี้พลาสติก (Plastic Chair)
ชุดตรวจสอบสารเสพย์ติด (Meth Card)
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine)
ผลิตภัณฑ์กำจัดยุงและแมลง (Deltamathrin)
ยางมะตอย (Asphalt)
เครื่องพ่นหมอกควัน (Fogging Machine)
อุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย (Fire Protection)
อุปกรณ์จราจร (Traffic Equipment)
ธงสัญลักษณ์ (Flag)
เสื้อสะท้อนแสง (Safety Vests)
โต๊ะพับ (Table)
ถังขยะขนาดเล็กและถุงขยะ (Small Bin & Bag)
อุปกรณ์โรงแรม (Hotel Equipment)
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ถังขยะพลาสติก
ร้านสีน้ำพลาสติก


การผลิตยางมะตอยผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์

การผลิตยางมะตอยผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์

          ปัญหาที่สำคัญคือไม่ มีเครื่องผสมแอสฟัลต์ กับ ยางพารา ที่จะนำไปใช้สร้างถนนในสภาพปฏิบัติงานจริง เนื่องจากขั้นตอนการผสมต้องให้ความร้อนแก่แอสฟัลต์ จนมีอุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส และนำยางพาราซึ่ง ในรูปของน้ำยางพาราเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์ เติมเข้าไปในแอสฟัลต์ ซึ่งสภาวะนี้สารทั้งสองจะมีปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้น กล่าวคือน้ำที่อยู่ ในน้ำยางพาราเข้มข้นทำให้แอสฟัลต์เดือด และเกิดเป็นฟองที่ผิวหน้าและมีไอน้ำแรงดันสูงพุ่งออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเนื่องจากแอสฟัลต์เป็นสารที่ได้จากการกลั่น น้ำมันปิโตรเลียมซึ่งสามารถติดไฟ และระเบิดได้ถ้าให้ความร้อนไม่ ถูกหลักวิชาการ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องผสมแอสฟัลต์ กับยางพาราที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับใช้งานสร้างถนนและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ ปฏิบัติงาน

สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับบริษัททิปโก้ แอสฟัลท์ จำกัดได้ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพยางมะตอยน้ำ(Asphalt Emulsion) ด้วยน้ำยางข้น (HA) ร้อยละ5.5 ช่วยให้คุณสมบัติ ด้านค่าความยืดหยุ่นตัว หรือฟื้นกลับตัว (Elastic Recovery) ดีขึ้น เป็นผลให้ยางมะตอยสามรถคืนรูปได้ดีหลังถูกกดทับ จากการจราจรจึงลดการเกิดร่องล้อบนถนน ตลอดจนค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงขึ้น จึงช่วยลดการเปลี่ยนแปลงผิวทาง เนื่องจากอุณหภูมิได้

         น้ำยางที่ปรับปรุงคุณภาพนี้ มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ที่ทล-ก405/2535 ซึ่งเปรียบเทียบคุณลักษณะของยางมะตอยน้ำผสมย่ำยางธรรมชาติกับ มาตรฐานCSS-1(EMA) แต่การผสมยางพาราในรูปน้ำยางข้น กับยางมะตอย ต้องมีวิธีการที่เหมาะสม ในขั้นตอนการต้มที่โรงงานผสมก่อนการผสมกับวัสดุมวลรวม(หินและทราย) มิฉะนั้น ส่วนผสมจะเกิดฟองล้นจากถังจนเกิดอันตรายได้ ซึ่งขณะนี้บริษัททิปโก้ฯสามารถ ผลิตยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว โดยใช้วิธีผสมยางธรรมชาติในขั้นตอนการผสมน้ำกับส่วนผสม (Emulsifier) ก่อนนำมาผสมกับยางมะตอยในโรงงาน
 
ต่อมาคณะผู้วิจัยกรมวิชาการเกษตร นำโดย นางณพรัตน์ วิชิตชลขัย, นายวิชัย โอภานุกุล ดร.นุชนาฎ ณ ระนอง นายนิโรจน์ รอดสม ได้คิดค้นปรับปรุง คุณภาพยางมะตอยให้ดีขึ้น โดยใช้ยางพาราชนิดน้ำยางข้นผสมกับยางมะตอยในอัตราร้อยละ 5 กับยางมะตอยชนิด AC 60/70 ทำให้ได้
ถนนยางมะตอยผสมยางพาราที่มีความทนทานแต่มีปัญหาในกระบวนการผสมยางมะตอยกับยางพารา
 
ในระหว่างปี 2546 – 2547 คณะผู้วิจัย จึงได้คิดประดิษฐ์เครื่องต้นแบบผสมยางมะตอยกับยางพารา ชนิดน้ำยางข้นแบบเคลื่อนที่ สามารถป้องกันอันตราย จากไอน้ำแรงดันสูง และการระเบิดของยางมะตอย ในขณะผสมยางพารากับยางมะตอย สามารถเคลื่อนย้ายและต่อเชื่อม และปฏิบัติงานได้จริงกับโรงผสมแอสฟัลต์คอนกรีตทุกขนาดมีประสิทธิภาพเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ในการสร้างถนนจริงโดยเครื่องผสมต้นแบบประกอบด้วย 6 ระบบ
1. ระบบผสมทรงกระบอก
2. ระบบความร้อน
3. ระบบกวนผสมยางมะตอยกับยางพารา
4. ระบบเติมน้ำยางพารา
5. ระบบจ่ายยางมะตอย
6. ระบบยก

         ระหว่างปี 2548 – 2550 ได้มีการสร้างถนนยางมะตอยผสมยางพาราภายในหน่วยงานกรมวิชาการเกษตร 34 แห่ง และถนนสาธารณะระยะทาง 1,200 เมตร พบว่าถนนดังกล่าว มีความคงทนต่อการเกิดร่องล้อ และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า เมื่อเทียบกับถนนยางมะตอยปกติ ทำให้ลดค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาถนน ได้ปีละหลายพันล้านบาท รวมทั้งเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศปีละ 40,000 ตัน เครื่องต้นแบบผสมยางมะตอยกับยางพาราชนิดน้ำยางข้น แบบเคลื่อนที่นี้ ได้รับรางวัลชมเชย จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551

 

 







Seenam-Plastic Shop. Copyright © 2012 All Rights Reserved.

ร้านสีน้ำ-พลาสติก

ที่อยู่: เลขที่79/97 ถนน เทศบาล6 ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160
เบอร์โทร: 081-8133526 หรือ 084-1602722
อีเมล์/MSN: lek_swtkm@hotmail.com หรือ boorin_mba@hotmail.com
เว็บไซต์: www.seenam-plastic.com